มาตรฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ค่า มาตรฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม มีรายละเอียด ค่าความสว่างตามลักษณะงาน แบ่งได้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้

หมายเหตุ “ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร ซึ่งในประกาศนี้ใช้หน่วยเความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (lux)

เนื่องจากแสงสว่างเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลต่อทั้งคุณภาพงาน คุณภาพสินค้าที่ผลิตได้ และความปลอดภัยของตัวลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมในภาคการผลิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาแสงสว่างให้เพียงพอ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีประกาศ ค่าแสงสว่างมาตราฐาน ของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยแบ่งตามลักษณะงานดังนี้

1. บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิต หรือการปฏิบัติงาน

ค่าความเข้มเฉลี่ย ของแสงสว่าง : 100 ลักซ์

ค่าความเข้มต่ำสุด ของแสงสว่าง : 50 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • ห้องเก็บวัตถุดิบบริเวณห้องอบหรือห้องทำให้แห้งของโรงซักรีด

ค่าความเข้มเฉลี่ย ของแสงสว่าง : 200 ลักซ์

ค่าความเข้มต่ำสุด ของแสงสว่าง : 100 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • จุด / ลานขนถ่ายสินค้า
  • คลังสินค้า
  • โกดังเก็บของไว้เพื่อการเคลื่อนย้าย
  • อาคารหม้อน้ำ
  • ห้องควบคุม
  • ห้องสวิตซ์

ค่าความเข้มเฉลี่ย ของแสงสว่าง : 300 ลักซ์

ค่าความเข้มต่ำสุด ของแสงสว่าง : 150 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • บริเวณเตรียมการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ
  • บริเวณพื้นที่บรรจุภัณฑ์
  • บริเวณกระบวนการผลิต / บริเวณที่ทำงานกับเครื่องจักร
  • บริเวณการก่อสร้าง การขุดเจาะ การขุดดิน
  • งานทาสี
ค่ามาตราฐาน แสงสว่างในโรงงาน

คลิกเลือกดู โคมไฟไฮเบย์ High Bay LED

ค่าความสว่างมาตราฐาน ของโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งตามลักษณะชิ้นงานที่ ลูกจ้างต้องใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน

2.1 งานหยาบ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่าง ชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก

ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่า ๗๕๐ ไมโครเมตร (๐.๗๕ มิลลิเมตร)

ค่าความเข้มของแสงสว่าง : 200-300 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานหยาบที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร
  • การตรวจงานหยาบด้วยสายตา การประกอบ การนับ การตรวจเช็คสิ่งของที่มีขนาดใหญ่
  • การรีดเส้นด้าย
  • การอัดเบล การผสมเส้นใย หรือการสางเส้นใย
  • การซักรีด ซักแห้ง การอบ
  • การปั๊มขึ้นรูปแก้ว เป่าแก้ว และขัดเงาแก้ว
  • งานตี และเชื่อมเหล็ก
มาตราฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม งานหยาบ

2.2 งานละเอียดเล็กน้อย

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกกลาง โดยระดับของค่าความเข้มของแสงสว่าง จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้

ชิ้นงาน มีนาดใหญ่ และมีความแตกต่างของสีชัดเจน

ความเข้มของแสงสว่าง : 300 – 400 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานรับจ่ายเสื้อผ้า
  • การทำงานไม้ที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง
  • งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง
  • งานเจาะรู ทากาว หรือเย็บเล่มหนังสือ งานบันทึกและคัดลอกข้อมูล
  • งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน
  • งานผสมและตกแต่งขนมปัง
  • การทอผ้าดิบ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีปานกลาง

การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 125ไมโครเมตร (0.125 มิลลิเมตร)

ความเข้มของแสงสว่าง : 400 – 500 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและ
    ประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม
  • งานประกอบรถยนต์และตัวถัง
  • งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก
  • การทำงานไม้อย่างละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร
  • การทอผ้าสีอ่อน ทอละเอียด
  • การคัดเกรดแป้ง
  • การเตรียมอาหาร เช่น การท าความสะอาด การต้มฯ
  • การสืบด้าย การแต่ง การบรรจุในงานทอผ้า
มาตราฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม งานละเอียดเล็กน้อย

2.3 งานละเอียดปานกลาง

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีบ้างและต้องใช้สายตาในการทำงานค่อนข้างมาก

แบ่งออกได้ 2 แบบ ดังนี้

ความเข้มของแสงสว่าง : 500 – 600 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานระบายสี พ่นสีตกแต่งสีหรือขัดตกแต่งละเอียด
  • งานพิสูจน์อักษร
  • งานตรวจสอบขั้นสุดท้ายในโรงผลิตรถยนต์

ความเข้มของแสงสว่าง : 600 – 700 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานออกแบบและเขียนแบบ โดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานตรวจสอบอาหาร เช่น การตรวจอาหารกระป๋อง
  • การคัดเกรดน้ำตาล
ค่าความสว่างมาตราฐาน สำหรับงานละเอียดปานกลาง

2.4 งานละเอียดสูง

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก โดยแบ่งตามลักษณะการใช้สายตาดังนี้

การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)

งานที่ใช้สายตาปรกติ ไม่ต้องเพ่งมาก

ความเข้มของแสงสว่าง : 700 – 800 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานปรับเทียบมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำของอุปกรณ์
  • การระบายสี พ่นสี และตกแต่งชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดมากหรือต้องการ
    ความแม่นยำสูง
  • งานย้อมสี

แต่หากการทำงานนั้น ต้องใช้เวลาในการทำงาน

ความเข้มของแสงสว่าง : 800 – 1,200 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ
  • การตรวจสอบและตกแต่งสิ่งทอ สิ่งถัก หรือเสื้อผ้าที่มีสีอ่อนขั้นสุดท้ายด้วยมือ
  • การคัดแยกและเทียบสีหนังที่มีสีเข้ม
  • การเทียบสี ในงานย้อมผ้า
  • การทอผ้าสีเข้ม ทอละเอียด
  • การร้อยตะกร้อ
ค่าความสว่างมาตราฐาน สำหรับงานที่มีความละเอียดสูง

2.5 งานละเอียดสูงมาก

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน

ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)

ความเข้มของแสงสว่าง : 1,200 – 1,600 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • งานตรวจสอบชิ้นส่วนขนาดเล็ก
  • งานซ่อมแซม สิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีอ่อน
  • งานตรวจสอบ และตกแต่ง ชิ้นส่วนของสิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีเ
    ข้มด้วยมือ
  • การตรวจสอบ และตกแต่ง ผลิตภัณฑ์สีเข้ม และสีอ่อนด้วยมือ
มาตราฐานแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม ชิ้นงานความละเอียดสูง

2.5 งานละเอียดสูงมากเป็นพิเศษ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมาก หรือมีสีไม่ต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก หรือใช้ทักษะและความชำนาญสูง และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน

ความเข้มของแสงสว่าง : มากกว่า 2,400 ลักซ์

ตัวอย่างลักษณะงาน

  • การปฏิบัติงานตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ
  • การเจียระไนเพชร พลอย การทำนาฬิกาข้อมือสำหรับกระบวนการผลิตที่มีขนาด
    เล็กมากเป็นพิเศษ
  • งานทางการแพทย์ เช่น งานทันตกรรม ห้องผ่าตัด
มาตรฐาน แสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรม ความละเอียดสูงเป็นพิเศษ

3 มาตราฐานความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) บริเวณโดยรอบที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน

พื้นที่ 1 พื้นที่ 2 พื้นที่ 3
1,000 – 2,000 300 200
≥ 2,000 – 5,000 600 300
≥ 5,000 – 10,000 1,000 400
มากกว่า 10,000 2,000 600

หมายเหตุ

พื้นที่ 1 หมายถึง จุดที่ให้ลูกจ้าง ทำงานโดยใช้สายตามมองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน

พื้นที่ 2 หมายถึง บริเวณถัดจากที่ ที่ให้ลูกจ้าง คนใดคนหนึ่ง ทำงานในรัศมีที่ลูกจ้างเอื้อมมือถึง

พื้นที่ 3 หมายถืง บริเวณโดยรอบที่ติดพื้นที่ 2 ที่มีการปฏิบัติงานของลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง

คลิกเลือกดู โคมไฟไฮเบย์ High Bay LED

สรุป

กรมสวัสดิการ และค้มครองแรงงาน ได้ออกกำหนด ค่า มาตรฐานแสงสว่างในโรงงาน อุตสาหกรรม ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

  1. ลักษณะพื้นที่ ที่ปฏิบัติงาน
  2. ตามลักษณะของชิ้นงาน หรือสินค้าที่ผลิต โดยแบ่งได้ 2 ส่วนคือ
    • ตามขนาดชิ้นงาน
    • ตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
  3. ข้อกำหนดของค่าความสว่างของพื้นที่โดยรอบในการปฏิบัติงาน