ไฟทางหลวง ทั้งโคมไฟถนน และเสาไฮแมส มีรูปแบบการกระจายแสง ตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง มีข้อกำหนดอย่างไร บทความนี้ จะมาให้รายละเอียดและอธิบายชนิด (Type) ของรูปแบบการกระจายแสงในแบบต่างๆ ตามข้อกำหนด
ในการพิจารณารูปแบบการการจายแสง ของโคมไฟถนน จะพิจารณา 2 รูปแบบคือ
- การกระจายแสงของโคมไฟถนนแนวดิ่ง (Vertical Light Distribution)
- การกระจายแสงของโคมไฟถนนด้านข้าง (Lateral Light Distribution)
การกระจายแสงของ ไฟทางหลวง ในแนวดิ่ง
ในการพิจาณา รูปแบบการกระจายแสงของโคมไฟถนน แบบนี้จะพิจารณาระยะจากโคมไฟถนนในทิศทางที่ขนาน ไปตามแนวยาวของถนน เพื่อให้ทราบว่า โคมไฟถนนแต่ละดวงมีความสามารถ ให้กำลังส่องสว่างครอบคลุมได้ เป็นระยะ กี่เท่าของระยะความสูงติดตั้งโคมไฟถนน ตามแนวยาวของถนน (TRL)
โดยสามารถแบ่งพิสัยการกระจายแสง เป็นช่วงๆ ได้ตามตารางที่ ST-1 และรูปที่ SP-1 แสดง ตัวอย่างกราฟ การอ่านค่ารูปแบบของการกระจายแสงโคมไฟถนนในแนวดิ่ง
รูปแบบการกระจาย แสงระนาบแนวดิ่ง |
ตำแหน่ง Maximum Candle Power เป็นจำนวนเท่าเมื่อเทียบกับ MH (*) |
---|---|
แบบพิสัยสั้น (Short Distribution) |
ที่ 1.00 – 2.25 เท่าของความสูงเสาดวงโคม (MH) |
แบบพิสัยปานกลาง (Medium Distribution) |
ที่ 2.25 – 3.75 เท่าของความสูงเสาดวงโคม (MH) |
แบบพิสัยสั้น (Short Distribution) |
ที่ 3.75 – 6.00 เท่าของความสูงเสาดวงโคม (MH) |
(*) MH : ระยะความสูงติดตั้งโคมไฟถนน
ตารางที่ ST-1 : รูปแบบการกระจายแสง เทียบกับระยะความสูงของดวงโคมไฟถนน
รูปที่ SP-1 ตัวอย่าง กราฟแสดงค่ารูปแบบของการกระจายแสงระนาบดิ่ง (ศ.ดร.ประโมทย์ อุณห์ไวทยะ และ คณะ)
หมายเหตุ LRL คือเส้นที่ลากตามความยาวถนน (Longitudinal Roadway Line) ซึ่งจะอยู่ใต้ดวงโคมที่ระยะ 1.00, 1.75 และ 2.75 เท่าของความสูงโคมไฟถนน ตามลำดับ
โดยในรูปที่ SP-1 เป็นแนวทางการพิจารณารูปการกระจายแสงของโคมไฟถนนในแนวดิ่ง โดยพิจารณาจาก ระยะห่างที่มากที่สุดตามทฤษฏี (Theoretical Maximum Spacing) โดยพิจารณาจาก
ระยะทางที่ใกล้ที่สุดที่มีกำลังส่องสว่างสูงสุดของลำแสงที่ตกกระทบบนผิวทาง โดยนับจากตำแหน่งติดตั้งโคมไฟถนน
“ระยะทางนี้เป็นกี่เท่าของความสูงที่ติดตั้งโคมไฟถนน”
โดยระยะทางที่ได้ นี้ จะถูกแบ่งเป็นพิสัย ตามจำนวนเท่าของความสูงที่ติดตั้งโคมไฟถนนโดยสามารถแบ่งช่วงพิสัยออกได้ 3 ช่วงคือ พิสัยสั้น, พิสัยปานกลาง และพิสัยยาว ตามตารางที่ ST-2
พิสัยการกระจาย แสงระนาบแนวดิ่ง | ระยะของ Theorical Maximum Spacing เป็นจำนวนเท่าของ MH (*) |
---|---|
แบบพิสัยสั้น (Short Distribution) | ที่ 4.5 เท่าของ MH |
แบบพิสัยปานกลาง (Medium Distribution) | ที่ 7.2 เท่าของ MH |
แบบพิสัยสั้น (Short Distribution) | ที่ 12.0 เท่าของ MH |
(*) MH : ระยะความสูงติดตั้งโคมไฟถนน
ตารางที่ ST-2 : รูปแบบการกระจายแสง เทียบกับระยะความสูงของดวงโคมไฟถนน
ในทางปฏิบัติ ระยะห่างของดวงโคมจะอยู่ในช่วงไม่เกิน 5 – 6 เท่าของความสูงโคมไฟถนน ดังนั้นรูปแบบการกระจายที่เหมาะ กับการติดตั้งไฟถนน
ทาง กรมทางหลวง จึงแนะนำพิสัยการกระจายแสงที่เหมาะสมเป็น พิสัยแบบปานกลาง
รูปแบบการกระจายแสงของ โคมไฟทางหลวง การกระจายแสงด้านข้าง ( Lateral Light Distribution ) ประเภทต่างๆ
รูปแบบการกระจายแสงแบบนี้ ตามมาตราฐานที่กำหนดโดย illuminating Engineering Society of North American (IESNA, 2001) สามารถแบ่งออกได้ 5 รูปแบบหลักดังนี้
เลือกโคมไฟที่กระจายแสงได้ตามข้อกำหนด เลือกคลิกได้ตามด้านล่าง
รูป SP-2 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type I
Type I :
โคมไฟถนน จะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ณ จุดกึ่งกลางถนน หรือ พื้นที่ ที่ต้องการแสงสว่าง โดยพื้นที่ส่องสว่าง จะมีลักษณะเป็นแนวยาว แคบ คล้ายๆ วงรีตามรูป SP-2
โดยมีรัศมีแนวขนานถนน มีระยะเป็น1.0 เท่าของระยะความสูงติดตั้ง โคมไฟถนน
ตัวอย่างเช่น ติดตั้งโคมไฟที่ความสูง 6 เมตร จะมีระยะรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งโคมไฟส่องสว่างออกไปตามแนวขนานกับถนน 6 เมตร
การกระจายแสง Type นี้ จะเหมาะกับ พื้นที่เช่น
- ทางเท้าข้างๆ ถนน
- ทางเดินแคบๆ
- แสงสว่างตามแนวกำแพงรั้ว
รูป SP-3 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type I – 4 Way
Type I – 4 Way
โคมไฟถนน จะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ณ กลางทางแยก แสงส่องสว่าง จะกระจายทั่วถึงทั้ง 4 ช่องทางแยก ตามรูป SP-3
รูป SP-4 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type II
Type II
โดยรูปแบบนี้ ตัวโคมจะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ณ บริเวณ ข้างทาง แทนที่จะเป็น ณ จุดกึ่งกลาง แบบ Type I ลักษณะแสงที่ส่องสว่างที่ได้ จะมีลักษณะแนวยาว แคบ คล้ายๆ วงรี ตามรูปที่ SP-4 การกระจายแสงแบบนี้ จะเหมาะสำหรับถนน หรือทางเดินที่แคบ
โดยมีรัศมีแนวขนานถนน มีระยะเป็น1.5 เท่าของระยะความสูงติดตั้ง โคมไฟถนน
ตัวอย่างเช่น ติดตั้งโคมไฟที่ความสูง 6 เมตร จะมีระยะรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งโคมไฟถส่องสว่างออกไปตามแนวขนานกับถนน 9 เมตร
การกระจายแสง Type นี้ จะเหมาะกับ พื้นที่เช่น
- ช่องทางเดินที่กว้าง
- ตรอก ซอก ซอย
- พื้นที่ทำประโยชน์ ขอบด้านข้างถนน
รูป SP-5 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type II – 4 Way
Type II – 4 Way
รูปแบบนี้ จะมีจุดที่แตกต่างจาก Type I – 4 Way คือ โคมไฟถนน จะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ที่ขอบด้านใด ด้านหนึ่งของทางแยก ตามรูป SP-5 โดยแสงที่ได้จะส่องกระจายทั่วถึงทั้ง 4 ช่องทางแยก
เลือกโคมไฟสำหรับ โคมไฟส่องสว่างถนน คลิกเลย
3. รูปแบบการการะจายแสงของโคมไฟถนน Type III (Roadway light distribution pattern Type III)
รูป SP-6 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type III
Type III
โคมไฟจะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ณ บริเวณข้างทาง ลักษณะเดียวกับ Type II แต่ตัวถนน จะมีความกว้างมากกว่า ลักษณะแสงที่ส่องสว่างจะเป็นแนวยาว แคบ คล้ายวงรี ตามรูที่ SP-6 เช่นเดียวกับแบบ Type II
โดยมีรัศมีแนวขนานถนน มีระยะเป็น 2.75 เท่าของระยะความสูงติดตั้ง โคมไฟถนน
ตัวอย่างเช่น ติดตั้งโคมไฟที่ความสูง 6 เมตร จะมีระยะรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งโคมไฟส่องสว่างออกไปตามแนวขนานกับถนน 16.5 เมตร
แต่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม สำหรับ Type III นี้คือ ที่เส้น 50% ของกำลังส่องสว่างค่าสูงสุด ที่ตกบนถนน ต้องอยู่ภายในขอบเขตระหว่าง บนเส้น 1.75 MH LRL และ 2.75 MH LRL
การกระจายแสง Type นี้ จะเหมาะกับ พื้นที่เช่น
- ถนน
- ลานจอดรถ
- สวน สนามหญ้า
คลิกLink นี้เลือก โคมไฟถนนสาธารณะ
4. รูปแบบการการะจายแสงของโคมไฟถนน Type IV (Roadway light distribution pattern Type IV)
รูป SP-7 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type IV
Type IV
โคมไฟถนน Type IV จะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ที่ขอบข้างทางเช่นเดียวกับ Type II และ Type III แต่ความกว้างถนนจะมากกว่า ทั้ง 2 type ที่กล่าวมา ลักษณะรูปแบบการกระจายแสง จะเป็นลักษณะวงรี ตามรูปที่ SP-7
โดยมีรัศมีแนวขนานถนน มีระยะเป็น 2.75 เท่าของระยะความสูงติดตั้ง โคมไฟถนน
ตัวอย่างเช่น ติดตั้งโคมไฟที่ความสูง 6 เมตร จะมีระยะรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งโคมไฟถส่องสว่างออกไปตามแนวขนานกับถนน 16.5 เมตร
การกระจายแสง Type นี้ จะเหมาะกับ พื้นที่เช่น
- ไฟแสงสว่างโดยรอบอาคาร
- ลานจอดรถ ขนาดใหญ่
รูป SP-8 รูปแบบการกระจายแสงโคมไฟถนน Type V
Type V
โคมไฟถนน Type V จะถูกติดตั้งบนเสาไฟส่องสว่าง ณ จุดศูนย์กลาง ของทางแยก ที่มีลักษณะเป็นวงเวียน หรือ พื้นที่ที่ต้องการแสงสว่าง เหมาะกับโคมไฟประเภท High Mast พื้นที่ส่องสว่าง ที่ได้จะมีลักษณะเป็นวงกลม
การกระจายแสง Type นี้ จะเหมาะกับ พื้นที่เช่น
- พื้นที่ขนาดใหญ่ที่ต้องการความสม่ำเสมอของแสง (Uniformity) เช่น ลานแสดงสินค้าภายนอก อาคารขนาดใหญ่, ถนนขนาดใหญ่ ที่มีช่องทางเดินรถมากกว่า 4 ช่องจารจร เป็นต้น
- ลานจอดรถ ขนาดใหญ่มากๆ เช่น ลานจอดขนส่งสาธารณะ, ลานจอดเครื่องบิน, พื้นที่ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น
สรุป
ไฟทางหลวง ตามข้อกำหนดของกรมทางหลวง สำหรับโคมไฟถนน และเสาไฮแมส มีรูปแบบการกระจายแสงดังนี้
- การกระจายแสงในแนวดิ่ง
- การกระจายแสงในแนวด้านข้าง โดยแบ่งออกเป็น ชนิดต่างๆ (Type) 1 – 5 ซึ่ง ต้องเลือกใช้งาน ให้เหมาะกับ ลักษณะถนน และการติดตั้ง เพื่อให้ได้การกระจายแสง ครอบคลุมกับการใช้งานให้ได้มากที่สุด
สนใจโคมไฟถนน ที่มีรูปแบบการกระจายแสง แบบ Type II และ Type III ที่ใช้สำหรับถนนในบ้านเรา คลิกเลือกสินค้าได้ตามลิงค์นี้เลย โคมไฟถนน