ข้อกำหนดโคมไฟถนน LED ในเขตการไฟฟ้านครหลวง

ข้อกำหนดโคมไฟถนน LED ในเขตการไฟฟ้านครหลวง

เลือกอ่าน

ในปี 2563 การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ได้มีข้อกำหนดพิเศษโดยเฉพาะสำหรับ โคมไฟถนน LED ในเขตการไฟฟ้านครหลวง เพื่อติดตั้งให้แสงสว่างในพื้นที่สาธารณะ บนเสาไฟฟ้าคอนกรีตของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในพื้นที่จัดสรร โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  1. ข้อกำหนดสำหรับโคมไฟถนน LED
  2. ข้อกำหนดสำหรับกิ่งโคมไฟถนน
  3. ข้อกำหนดสำหรับขายึดเสาปูน

โดยมีรายละเอียดต่างๆ แบ่งตามหัวข้อ ดังนี้

ข้อกำหนดโคมไฟถนน LED

การไฟฟ้านครหลวง ได้มีข้อกำหนดสำหรับโคมไฟถนน LEDโดยเฉพาะ โดยสรุปมาเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้

คลิกเลือก โคมไฟถนน LED

1.1 มาตราฐานของโคมไฟ

1.1.1 ความเป็นฉนวน

โคมไฟ ต้องผ่านมาตราฐานในหัวข้อความต้านทานฉนวน (Insulation Resistance) และความทนแรงดันไฟฟ้า (Electric Strength) ตาม มอก. 902 เล่ม 1-2557 หรือฉบับล่าสุด หรือ IEC 60598-1 (2014) หรือ ฉบับล่าสุด สำหรับ Class I Luminaires

1.1.2 มาตราฐานภาคบังคับ

โคมไฟต้องได้รับการรับรองตามมาตราฐาน มอก. 1955

1.2 การติดตั้งกับกิ่งไฟถนน

โคมไฟจะต้องเป็นชนิดติดตั้งแบบ Side-Entry และ Slipfitter โดยต้องสามารถสวมกิ่งโคมขนาด NPS 1-1/4″ ( OD 42 mm.) ได้อย่างเหมาะสม

1.3 ค่าทางไฟฟ้า

ในหัวข้อนี้จะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อดังนี้

1.3.1 โคมไฟต้องใช้งานได้ในแรงดันช่วง 198 – 240 VAc.

1.3.2 โคมไฟต้องมีค่า Power Factor ไม่น้อยกว่า 0.9 ที่กำลังไฟฟ้าด้านเข้าเต็มพิกัด

1.4 การต่อสายไฟ

ข้อกำหนดของสายไฟที่ใช้กับโคมไฟถนน LED ที่ติดตั้งในเขตการไฟฟ้านครหลวง

รูปที่ 1 แสดงการขนาด และจำนวนสายไฟ ที่สอดเข้าไปภายในโคมไฟถนนเพื่อต่อกับ Terminal ภายในโคมไฟ

1.4.1 โคมไฟต้องมีรู (Opening) พร้อมอุปกรณ์ป้องกันการบาดสาย สำหรับใส่สายไฟฟาของ กฟน. ไปยังอุปกรณ์ต่อสาย (Terminal) ที่อยู่ภายในโคมไฟได้อย่างเหมาะสม ตามที่แสดงในรูปที่ 1

1.4.2 โคมไฟต้องมีขั้วต่อสาย (Terminal Block) ที่เหมาะสมกับสายทองแดงขนาด 1.0 – 2.5 ตารางมิลิเมตร สำหรับต่อสายไฟฟ้า จากภายนอกเข้าโคมไฟ โดยขั้วต่อสายต้องมีการทำสัญลักษณ์ระบุวัตถุประสงค์ ของขั้วต่อสายนั้น ดังนี้

  • ขั้วต่อสาย Line – L
  • ขั้วต่อสาย Neutral – N
  • ขั้วต่อสายดิน –electric ground symbol, E หรือ G

1.4.3 ส่วนโลหะที่ไม่นำกระแสของโคมไฟจะต้องต่อฝาก (Bond) เข้ากับขั้วต่อสายดินของโคมไฟ

1.5 มาตราฐานโคมไฟ

โคมไฟต้องได้รับการรับรองตามมาตราฐาน มอก.1955

คลิกเลือก โคมไฟถนน (Street Light) LED

2. ข้อแนะนำ เพิ่มเติม สำหรับโคมไฟถนน LED

2.1 ระดับป้องกันน้ำและฝุ่น (IP Rating)

ตัวโคมไฟ หรือ อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ภายในโคมทุกชิ้นควรมีค่า Ingress Protection (IP) > IP65 (แนะนำ)

2.2 อุณหภูมิสี (CCT)

ควรใช้อุณหภูมิสี (CCT) 4,000 K +/- 300K (แนะนำ)

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ CCT

2.3 Surge Protection

โคมไฟควรมีระบบป้องกันเสิร์จป้องกัน Drive และ LED System โดยมีพิกัดไม่น้อยกว่า 6KV 3 Coupling Mode ( L-N, L-G, N-G ) ตาม IEC 61000-4-5 โดยต้องผ่านเกณฑ์ Classification B (แนะนำ) 

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก และฟ้าผ่า

2.4 ค่าความสว่าง

โคมไฟควรมีค่าความส่องสว่าง และการกระจายแสงบนผิวถนน เหมาะสมตามเกณฑ์ ที่กำหนด ดังตารางที่ 1 (แนะนำ) 

ตารางที่ 1

รายการ 38 (Max.) 60 (Max.)​
พิกัดกำลังไฟฟ้า

ของโคมไฟ (W)

38W 60W
รุปแบบการจัดวาง Single

Sided

Single

Sided

ความกว้างถนน (ม.) 6.0 12.0
Mounting Height (ม.) 7.5 7.5
Overhang (ม.) 0.5 0.5
มุมเงย
ระยะห่าง

ระหว่างโคม (ม.)

40 40
ค่าความสว่าง

เฉลี่ยต่ำสุด (lx)

6.2 6.2
ค่าความสว่าง

ตำ่สุด (lx)

1.2 1.2

ตารางที่ 1

รายการ 38 (Max.) 60 (Max.)​
พิกัดกำลังไฟฟ้าของโคมไฟ (W) 38W 60W
รุปแบบการจัดวาง Single-Sided Single-Sided
ความกว้างถนน (ม.) 6.0 12.0
Mounting Height (ม.) 7.5 7.5
Overhang (ม.) 0.5 0.5
มุมเงย
ระยะห่างระหว่างโคม (ม.) 40 40
ค่าความสว่างเฉลี่ยต่ำสุด (lx) 6.2 6.2
ค่าความสว่างตำ่สุด (lx) 1.2 1.2

หมายเหตุ 

  1. กำหนดให้ใช้ค่า Maintenance Factor = 1.0
  2. พิกัดกำลังไฟฟ้าของโคมไฟ สามารถแตกต่างจากตารางที่ 1 ได้ หากเป็นความต้องการของเจ้าของพื้นที่ โดยแนะนำ
    • ให้มีค่าความส่องสว่างเฉลี่ยต่ำสุดไม่น้อยกว่า 6.2 lx
    • และค่าความส่องสว่างต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1.2 lx

3. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (เช่น กิ่งโคม ตีนกิ่ง / ขาจับกิ่งโคม สายไฟฟ้า เป็นต้น)

เพื่อความปลอดภัย ต่อพนักงาน กฟน. ที่ปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้า กฟน. ขอสงวนสิทธิ์ ให้ลูกค้าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ กฟน. เป็นผู้จัดเตรียมให้ ทั้งนี้ กฟน. อนุโลมให้เฉพาะกิ่งโคม และตีนกิ่งโคม ลูกค้าสามารถจัดหาเองได้ โดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนด หรือหากรายละเอียดของอุปกรณ์ไม่เป็นไปตามนี้ ต้องส่งรายละเอียดมาให้ กฟน. พิจารณาก่อนจัดหา

อ่านเพิ่มเติมข้อกำหนดของ กิ่งโคมไฟ

อ่านเพิ่มเติมข้อกำหนดขาจับกิ่งโคม ยึดเสาปูน

4. หลักฐานประกอบการพิจารณาโคมไฟถนน LED

  • รายงานผลการทดสอบ / ตรวจสอบโคมไฟ ตามข้อ 1.1-1.4 จากสถาบันทดสอบที่ กฟน. ยอมรับ (ใช้ตัวอย่าง โคมไฟจำนวน 1 โคม เป็นตัวอย่างทดสอบ) โดยรายงานผลการทดสอบต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี
  • ใบอนุญาติจากสำนักมาตราฐานผลิตดภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้ทำ หรือ นำเข้าโคมไฟ LED ตาม มอก.1955-2551 หรือฉบับล่าสุด ตามข้อ 1.5

5. หลักฐานประกอบการพิจารณากิ่งโคม และตีนกิ่งโคม (กรณีลูกค้าจดหาเอง)

รายงานผลการทดสอบ / ตรวจสอบกิ่งโคม และตีนกิ่งโคม จากสถาบันทดสอบที่ กฟน. ยอมรับ (ใช้ตัวอย่างกิ่งโคม และตีนกิ่งโคมอย่างละ 1 ตัว เป็นตัวอย่างทดสอบ) โดยรายงานผลการทดสอบต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปี

อ่านเพิ่มเติมข้อกำหนดของ กิ่งโคมไฟ

7. สถาบันทดสอบที่ กฟน. ยอมรับในข้อกำหนดนี้

  • ห้องปฏิบัติการทดสอบของการไฟฟ้านครหลวง
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบของรายการ
  • ห้องปฏิบัติการภายใต้การกำกับของรัฐ
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับรองความสามารถตามมาตราฐาน มอก. 17025 หรือ ISO / IEC 17025

8. การบำรุงรักษา

หากลูกค้าต้องการให้ กฟน. บำรุงรักษาโคมไฟถนน LED ลูกค้าจะต้องเนตรียมโคมไฟถนน LED สำรองไว้ให้ กฟน. ด้วย

สรุป

ในการจัดหาโคมไฟถนน LED ในเขตการไฟฟ้านครหลวงได้มีข้อกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1 เป็นหัวข้อที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวง ได้แต่ข้อที่ 1 และข้อที่ 4 – 8
  • ส่วนที่ 2 เป็นคำแนะนำ (ไม่ได้บังคับ) อยู่ในข้อที่ 2

เจ้าของพื้นที่ สามารถจัดหาโคมไฟถนน LED, กิ่งโคมไฟ และขาจับกิ่งโคมไฟยึดเสาปูนได้เอง แต่ต้องมีผลการทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวง โดย

  • รายงานในส่วนของโคมไฟต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี
  • รายงานในสวนของกิ่งโคมไฟ และ ขาจับกิ่งโคมไฟยึดเสาปูน มีอายุรายงานไม่เกิน 5 ปี